GPS (Global Positioning System) หรือ ระบบบอกพิกัดผ่านทางดาวเทียม จัดอยู่ในประเภท Indirect Active Safety Innovation โดยมีส่วนประกอบหลักๆของระบบแบ่งเป็น 3ส่วนใหญ่ คือ ดาวเทียม ตัวรับ สัญญาณ และแผนที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานร่วมกับระบบควบคุมการเดินรถ (Fleet Management System) ทั้งตัวรถโดยสาร รถบรรทุกสินค้า รถขนเงิน ฯลฯ ทำให้สามารถตรวจสอบเส้นทางการเดินรถ และติดตามรถที่ต้องการได้อย่างอัตโนมัติ ระบบGPS ประกอบไปด้วยดาวเทียมทั้งหมด 27 ตัว แต่ขณะใช้งานใช้แค่ 3 ตัว ดาวเทียมเหล่านี้จะคอยส่งสัญญาณบอกลงมาอยู่ตลอดเวลาว่ากำลังอยู่พิกัดใด โดยอาศัยหลักของความเร็วของคลื่นไฟฟ้า ในขณะเดียวกันเครื่องรับสัญญาณจะรับสัญญาณที่ส่งมาจากดาวเทียม เครื่องจะรับข้อมูลเอามาคำนวณระยะทางเพื่อหาพิกัดของตัวเอง แล้วเครื่องรับสัญญาณจะแสดงพิกัดของรถออกมาในรูปของแผนที่อีกที สำหรับ GPS Tracking มีอรรถประโยชน์มากมายทั้งด้านความปลอดภัย และบริหารรถบรรทุก เช่น ควบคุมค่าใช้จ่าย สำรวจพฤติกรรมของผู้ขับ เพิ่มความปลอดภัยในทรัพย์สิน บริหารการทำงานของรถได้ดียิ่งขึ้น โดยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการไม่สูงเกินไปและสามารถติดตั้งได้กับรถทุกคัน ไม่ต้องคำนึงถึงเทคโนโลยีของรถแต่คัน หลักการทำงานของ GDP Tracking System นั้น จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ติดตามรถยนต์ (Black Box) ที่ยานพาหนะ โดยอุปกรณ์จะรับสัญญาณจากดาวเทียม GDP เพื่อหาตำแหน่งพิกัดของรถ จากนั้นข้อมูลจะถูกประมวลผลและส่งผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในรูปแบบ GPRS ไปยังคอมพิวเตอร์ของศูนย์ผู้ให้บริการ ตำแหน่งและข้อมูลต่างๆ จะถูกประมวลผลก่อนส่งตอไปแสดงผลบนแผนที่ดิจิตอลที่คอมพิวเตอร์ของผู้รับ บริการ โดยตำแหน่งและสถานภาพของรถยนต์จะแสดงในรูปแบบภาพหรือสัญลักษณ์ ซึ่งระบบสามารถทำรายงานแสดงข้อมูลสำคัญตามที่ผู้รับบริการต้องการได้อีกด้วย การแสดงผลของ GDP Tracking System สามารถแบ่งการทำงานได้ 2 ระบบ ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการ คือการแสดงผลที่เครื่องผู้ใช้งาน ซึ่งจะต้องติดตั้งโปรแกรมของผู้ใช้บริการโปรแกรมจะบันทึกข้อมูลโดยอัตโนมัติ ผู้ใช้งานสามารถดูย้อนหลังได้ และการแสดงผลผ่าน Web Side ของผู้ใช้บริการโดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม ซึ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ว่าจ้างขนส่ง ว่าสินค้าของตนนั้นเดินทางถึงไหนแล้ว ช่วยเพิ่มความมั่นใจในประสิทธิภาพการขนส่ง แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ว่าจ้างขนส่งจะโทรศัพท์สอบถามการดำเนินงานของรถบรรทุกจากผู้ประกอบการเอง มากกว่า GDP Tracking System มี 2 รูปแบบ คือ แบบNon-Real time หรือแบบOff-line ทำงานโดยใช้อุปกรณ์ GDP หรือ Black- Box ที่ติดอยู่กับยานพาหนะ จะรับ สัญญาณดาวเทียมและแปลสัญญาณออกมาเป็นค่าพิกัด ตำแหน่ง เวลา และความเร็วในระหว่างการเดินทาง เครื่องบันทึกข้อมูลจะอ่านข้อมูลนำมาการประมวลผลและบันทึกข้อมูลไว้ เมื่อยานพาหนะกลับมาที่บริษัทแล้ว ข้อมูลในอุปกรณ์ติดรถจะถ่ายขึ้นบนคอมพิวเตอร์เพื่อเก็บไว้ตรวจสอบต่อไป แบบ Real time หรือแบบ On-line เป็นระบบที่ติดตามและตรวจสอบตำแน่งของรถในขณะที่รถกำลังปฏิบัติงานได้ โดยแสดงตำแหน่งรถบนแผนที่ด้วโปรแกรมที่ติดตั้งไว้กับศูนย์ควบคุม เมื่อต้องการทราบตำแหน่งของรถก็สามารถเรียกดูข้อมูลผ่านเครือโทรศัพท์ เคลื่อนที่ไปยังเครื่องบันทึกข้อมูลในตัวรถ อุปกรณ์ที่รถจะส่งข้อมูตอบกลับมาที่ศูนย์ด้วยข้อมูลของตำแหน่งรถและข้อมูล อื่นๆ บนแผนที่ทันที ข้อมูลในเครื่องบันทึกของรถทั้งระบบ Real time และแบบ Non-Real time จะถูกวิเคราะห์โดยโปรแกรม ซึ่งจะให้ผลการวิเคราะห์เป็นรายงานต่างๆ ทั้งข้อความ รูปภาพ กราฟ และสามารถแปลงให้อยู่ในรูปแบบ Excel ได้ ดังนี้ 1. รายงานเดินรถประจำวัน และรายเดือน 2. รายงานใช้ความเร็วการใช้งานรถ และการใช้ความเร็วเกินพิกัด 3. รายงานเวลาจอดรถติดเครื่องยนต์ทิ้งไว้ 4. รายงานปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ไป 5. รายงานการเข้า-ออก สถานที่ที่กำหนด 6. รายงานพฤติกรรมการใช้รถ 7. รูปภาพแสดงเส้นทางการเดินทางและจุดจอดบนแผนที่ 8. รายงานแสงข้อมูลการเดินทางย้อนหลัง ประโยชน์ที่ได้จากระบบ GPS Tracking 
|